รู้ไหมว่าจริงๆแล้ว การที่จะมีสุขภาพกายใจที่แข็งแรงและแจ่มใสนั้น ไม่ใช่เพราะการออกกำลังกายทางร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงการบริหารจิตอีกด้วย ซึ่งวิธีการบริหารจิตก็ไม่ใช่เรื่องยาก อย่างเช่นที่ นพ.สุรเกียรติ อาซานานุภาพ ได้เปิดเผยเอาไว้ในหนังสือหมอชาวบ้านค่ะ ขอบอกเลยว่าแต่ละวิธี ง่ายและดีต่อสุขภาพกายใจสุดๆเลย
การบริหารจิตมีผลต่อสุขภาพกาย สมอง และจิตใจพอๆกับการบริหารกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผลต่อการพัฒนาสมองด้วยการกระตุ้นให้เกิดการงอกใหม่และการปรับวงจรใหม่ของเซลล์สมอง ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาจิตใจให้สมบูรณ์และมีความสุขสงบเย็นอีกต่อหนึ่ง
การบริหารจิตควรทำให้เป็นกิจวัตรในชีวิตประจำวัน ซึ่งพอรวบรวมไว้ 10 วิธี ดังนี้
1. ออกกำลังกาย เช่น วิ่งเหยาะ เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิก ฝึกชี่กง รำมวยจีน (ไท่เก๊ก) ฝึกโยคะ เป็นต้น ในการออกกำลังกายสามารถบริหารจิตไปในตัว โดยการใช้สติระลึกรู้อยู่กับจังหวะการเคลื่อนไหว ในช่วงแรกอาจใช้วิธีนับ (เช่น นับซ้าย-ขวา นับ 1-2 หรือ 1 ถึง 10 กับจังหวะก้าว) เป็นตัวช่วย จนสติมั่น ก็ไม่ต้องนับ
2. นอนหลับให้เพียงพอ ประมาณ 6-8 ชั่วโมง การนอนหลับดีมีผลต่อการพัฒนาสมอง หลีกเลี่ยงการอดนอนและการมีอารมณ์เครียดติดต่อกันนาน ๆ เพราะมีผลลบต่อร่างกาย สมองและจิตใจ
3. บริโภคอาหารสุขภาพตามหลักธงโภชนาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดหวาน มัน เค็ม หันมากินปลา กินผักและผลไม้ให้มาก ๆ ไขมันโอเมก้า 3 ในปลา (เช่น ปลาดุก ปลาซ่อน) มีผลดีต่อการสร้างเซลล์สมองใหม่ และหลีกเลี่ยงการบริโภคสุรา ยาสูบ และสารเสพติด
4. หมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยการอ่าน การฟัง การค้นคว้า การหาประสบการณ์ใหม่ๆ การคิดใคร่ครวญ การถาม การบันทึกตามหลัก "สุ. จิ. ปุ. ลิ." ควบคู่กับการฝึกใช้ความคิดเป็นประจำ เช่น การฝึกแก้ปัญหา การเล่นไพ่ การเล่นเกมต่าง ๆ
5. ฝึกสมาธิ เช่น ฝึกอานาปานสติ สวดมนต์ ไหว้พระ เดินจงกรม ทำละหมาด อธิษฐานจิตวันละอย่างน้อย 1-2 ครั้ง นานครั้งละ 5-10 นาที ช่วยให้จิตใจมั่นคงสงบนิ่ง ไม่วอกแวก ฟุ้งซ่าน ขาดสมาธิ หรือใจลอยง่าย ควรรักษาจิตที่นั่งแต่ตื่นรู้ไว้ตลอดเวลาของการปฏิบัติสมาธิ อย่าให้นานจนหลับหรือเข้าสู่ภวังค์ จะทำให้จิตเฉื่อยเนือย นำมาใช้งานในการรับรู้สิ่งเร้าอย่างรู้เท่าทันไม่ได้ ซึ่งต่างจากสติ
6. เจริญสติ-รู้ตัวกับอิริยาบถและกิจกรรมต่างๆ เช่น ระลึกรู้ตัวอยู่กับการนั่ง นอน ยืน เดิน การเคลื่อนไหวจังหวะขณะออกกำลังกายต่าง ๆ การทำกิจวัตรประจำวัน เช่น แปรงฟัน อาบน้ำ ดื่มน้ำ กินอาหาร เคี้ยวข้าว ล้างจาน กวาดบ้าน ถูบ้าน ซักผ้า รีดผ้า ให้มีความตื่นรู้อยู่กับปัจจุบันขณะเมื่อจิตอยู่กับปัจจุบัน ก็จะสงบเย็น มีความสุข มีประสิทธิภาพในการทำกิจที่อยู่ตรงหน้า ไม่หวนคิดเสียใจกับเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต หรือคิดกลัวกังวลกับเรื่องอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน เป็นทุกข์ เครียด สูญเสียพลังสมองโดยเปล่าประโยชน์
7. ฝึกใช้ลมหายใจเป็นระฆังแห่งสติ เราสามารถตามรู้ลมหายใจเข้า-ออกในการทำอานาปานสติ ในการเจริญสติต่างๆ และอาจเสริมด้วยการตามรู้ลมหายใจเข้าออกที่เป็นธรรมชาติ ไม่ต้องปรุงแต่งลมหายใจให้ยาวให้ลึกกว่าปกติ เพียง 1-3 รอบ โดยเข้ากับออก 1 ครั้งเท่ากับ 1 รอบ โดยไม่ต้องหลับตา หรือบริกรรมแบบการทำสมาธิ
ควรทำให้บ่อยๆ เท่าที่รู้สึกตัวตั้งแต่ตื่นเช้าจนเข้านอน ทำจนเป็นนิสัย ต่อไปก็สามารถใช้ลมหายใจเพียง 1 รอบเป็นระฆังเตือนสติก่อนทำกิจกรรมต่างๆ เรียกว่า "ตั้งสติก่อนสตาร์ท" หรือเวลามีอารมณ์เครียดเกิดขึ้น ก็สามารถใช้ลมหายใจเตือนตัวเองให้เกิดสติรู้ตัว และควบคุมอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นให้ระงับบรรเทาหายไปได้ทันที
ควรทำให้บ่อยๆเท่าที่รู้สึกตัวตั้งแต่ตื่นเช้าจนเข้านอน ทำจนเป็นนิสัย ต่อไปก็สามารถใช้ลมหายใจเพียง 1 รอบเป็นระฆังเตือนสติก่อนทำกิจกรรมต่างๆ เรียกว่า "ตั้งสติก่อนสตาร์ท" หรือเวลามีอารมณ์เครียดเกิดขึ้น ก็สามารถใช้ลมหายใจเตือนตัวเองให้เกิดสติรู้ตัว และควบคุมอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นให้ระงับบรรเทาหายไปได้ทันที ควรทำให้บ่อยๆ เท่าที่รู้สึกตัวตั้งแต่ตื่นเช้าจนเข้านอน ทำจนเป็นนิสัย ต่อไปก็สามารถใช้ลมหายใจเพียง 1 รอบเป็นระฆังเตือนสติก่อนทำกิจกรรมต่างๆ เรียกว่า "ตั้งสติก่อนสตาร์ท" หรือเวลามีอารมณ์เครียดเกิดขึ้น ก็สามารถใช้ลมหายใจเตือนตัวเองให้เกิดสติรู้ตัว และควบคุมอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นให้ระงับบรรเทาหายไปได้ทันที
ควรทำให้บ่อยๆ เท่าที่รู้สึกตัวตั้งแต่ตื่นเช้าจนเข้านอน ทำจนเป็นนิสัย ต่อไปก็สามารถใช้ลมหายใจเพียง 1 รอบเป็นระฆังเตือนสติก่อนทำกิจกรรมต่างๆ เรียกว่า "ตั้งสติก่อนสตาร์ท" หรือเวลามีอารมณ์เครียดเกิดขึ้น ก็สามารถใช้ลมหายใจเตือนตัวเองให้เกิดสติรู้ตัว และควบคุมอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นให้ระงับบรรเทาหายไปได้ทันที
ควรทำให้บ่อยๆเท่าที่รู้สึกตัวตั้งแต่ตื่นเช้าจนเข้านอน ทำจนเป็นนิสัย ต่อไปก็สามารถใช้ลมหายใจเพียง 1 รอบเป็นระฆังเตือนสติก่อนทำกิจกรรมต่างๆ เรียกว่า "ตั้งสติก่อนสตาร์ท" หรือเวลามีอารมณ์เครียดเกิดขึ้น ก็สามารถใช้ลมหายใจเตือนตัวเองให้เกิดสติรู้ตัว และควบคุมอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นให้ระงับบรรเทาหายไปได้ทันที ควรทำให้บ่อยๆ เท่าที่รู้สึกตัวตั้งแต่ตื่นเช้าจนเข้านอน ทำจนเป็นนิสัย ต่อไปก็สามารถใช้ลมหายใจเพียง 1 รอบเป็นระฆังเตือนสติก่อนทำกิจกรรมต่างๆ เรียกว่า "ตั้งสติก่อนสตาร์ท" หรือเวลามีอารมณ์เครียดเกิดขึ้น ก็สามารถใช้ลมหายใจเตือนตัวเองให้เกิดสติรู้ตัว และควบคุมอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นให้ระงับบรรเทาหายไปได้ทันที
8. ฝึกพักใจและสมองเป็นระยะ ๆ ในแต่ละวัน เช่น หยุดคิด โดยหันมาชื่นชมธรรมชาติหรือศิลปะ นานครั้งละ ½ ถึง 1 นาที, ตามดูห้วงว่างระหว่างความคิด ลมหายใจเข้าออกและเสียงต่างๆ, หามุมสงบในบ้าน ในที่ทำงาน หรือในสวน นั่งปล่อยวางอารมณ์อย่างเงียบๆ หรือตามรู้ลมหายใจประกอบ นาน 5-10 นาที เป็นต้น การพักใจและสมอง ช่วยให้มีพลังในการทำงานได้ไม่เหนื่อยล้า
10. ฝึกคิดดี-พูดดี-ทำดี ให้เป็นนิสัย ช่วยถ่วงดุลกับธรรมชาติของจิตที่มักคิดลบซึ่งเป็นไปตามกลไกลมองที่มักถูกครอบงำด้วยความมีอัตตาตัวตน นิสัยความเคยชินเดิม และอารมณ์ลบ นอกจากนี้ควรหมั่นมีจิตอาสาทำงานเพื่อคนอื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนช่วยเหลือเกื้อกูลคนอื่น, ฝึกฟังคนอื่น และเข้าใจคนอื่น, รู้จักใช้ปิยวาจา รวมทั้งรู้จักพูดชื่นชม ให้กำลังใจผู้คนรอบข้าง, ฝึกตามดูรู้ทันความคิด อารมณ์ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจ ซึ่งจะช่วยให้ควบคุมตัวเองได้ดี
หมั่นมองตน ทบทวนตัวเองทุกวัน วันละหลายครั้ง หรือหลังเสร็จจากการทำกิจต่าง ๆ มองให้เห็นจุดแข็ง (เพื่อให้กำลังใจตัวเอง) และจุดอ่อน (เพื่อการปรับเปลี่ยนและพัฒนาตน), หมั่นนึกขอบคุณผู้คนและสิ่งต่าง ๆ (ทั้งสิ่งมีชีวิตและมีชีวิตและไม่มีชีวิต) ที่เกื้อหนุนให้ชีวิตเราปลอดภัยและเติบโตมาด้วยดี ทั้งหมดนี้เพื่อฝึกการรู้ตนควบคุมตน และลดละอัตตาตัวตน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น